กิจกรรม
การกระจายตัว กายวิภาคเปรียบเทียบ การขยายพันธุ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของพืชผักพื้นบ้านสกุล Elsholtzia (วงศ์ Lamiaceae) ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
30/09/2018จากการศึกษาสัญฐานวิทยา และกายวิภาควิทยา ของพืชสกุล Elsholtzia ทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ Elsholtzia blanda (Benth.) Benth. Elsholtzia winitiana Craib Elsholtzia stachyodes (Link) Raizada & H.O.Saxena Elsholtzia communis (Collett & Hemsl.) Diels Elsholtzia beddomei C.B.Clarke ex Hook.f. และ Elsholtzia kachinensis Prain บริเวณแหล่งต่างๆ ที่ภูมิประเทศ และความสูงจากระดับน้ำทะเลแตกต่างกัน คือ อำเภอสะเมิง และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอแม่สะเรียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบว่า สามารถใช้ลักษณะใบในการแยกความแตกต่างของพืชสกุลนี้ได้ และเมื่อศึกษาลักษณะทางกายวิภาคภายใต้กล้องจุลทรรศน์แบบเลนส์ประกอบพบการจัดเรียงตัวของ Collenchyma และSclerenchyma แตกต่างกัน โดยชนิด Elsholtzia kachinensis Prain ไม่พบลักษณะโครงสร้างดังกล่าว จากการศึกษาลักษณะของปากใบในตัวอย่าง Elsholtzia แต่ละชนิด รวมทั้งจ้านวนปากใบต่อ 1 ตารางมิลลิเมตร และ stomatal index สามารถจัดกลุ่มพืชสกลุ Elsholtzia ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะของปากใบ และ stomatal index ได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ El001 – El004 กลุ่มที่ 2 ได้แก่ El005 และ El006 กลุ่มที่ 3 ได้แก่ El007 และ El008 จากการศึกษาต่อมน้ำมันของพืช สกุล Elsholtzia พบว่า Elsholtzia winitiana Craib cf.1 มีจำนวนต่อมน้ำมันต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร มากที่สุด
จากการศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบทางเคมีของสารสกัดจากพืชสกุล Elsholtzia ได้แก่ E. beddomei และ E. winitiana และสกัดด้วยตัวท้าละลายเฮกเซน ไดคอลโรมีเทน และเอทานอล ตามลำดับ พบว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนจาก E. winitiana มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดอื่น โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 140.90 ± 1.69และ 106.51 ± 3.49 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน quercetin นำสารสกัดดังกล่าวมาแยกสารประกอบทางเคมีด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟีได้ 8 ส่วนย่อย (EW-1 ถึง EW-8) เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของทั้ง 8 ส่วนย่อย พบว่า ส่วนย่อยที่ 8 (EW-8) มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดอื่น โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 689.81 ± 0.34 และ 128.21 ± 4.83 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS ตามลำดับ ดังนั้นจึงเลือกสารสกัดส่วนย่อยที่ 8 (EW-8) มาทำการพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารด้วยเทคนิคทางสเปกโทรสโคปีและเปรียบเทียบกับเอกสารอ้างอิง พบว่า EW-8 เป็นสารผสมในกลุ่ม flavonoids จากนั้นนำทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี TLC bioautography พบว่า สาร 1 มีค่า Rf = 0.57 โดยใช้วัฎภาคเคลื่อนที่คือ 40%acetone: hexane และแสดงแถบสีขาวบนพื้นหลังสีม่วง ซึ่งแสดงว่ามีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระเมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน
การศึกษาการขยายพันธุ์ผักลุมปุม (Elsholtzia griffithii) ในหลอดทดลอง โดยนำตาข้างที่ได้จากต้นอ่อนปลอดเชื้อมาเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม BA (6-benzylaminopurine) ความเข้มข้น 0, 0.25, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 5 สัปดาห์ พบว่าอาหาร MS ที่เติม BA 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำตาข้างให้เกิดยอดสูงสุดร้อยละ 85.71 จ้านวนยอดเฉลี่ยสูงสุด 5.42 ± 0.67 ยอด/ชิ้นส่วนพืช สำหรับการชักนำให้เกิดราก โดยเลี้ยงยอดบนอาหารสูตร MS ที่เติม IBA (indole-3-butyric acid) และ NAA (1-
naphthalene acetic) ความเข้มข้น 0, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าอาหารสูตร MS ที่ไม่มีสารควบคุมการเจริญเติบโต สามารถชักนำให้เกิดรากสูงสุด 80.00% และจำนวนรากสูงสุด 5.50±0.90 ราก/ชิ้นส่วนพืช
พื้นที่เป้าหมาย
ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เพื่อศึกษาการกระจายตัว กายวิภาคเปรียบเทียบ การขยายพันธุ์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของพืชผักพื้นบ้านสกุล Elsholtzia (วงศ์ Lamiaceae) ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.อังคณา อินตา คณะวิทยาศาสตร์
สถานะโครงการ
สิ้นสุดโครงการ