กิจกรรม
การกระจายตัว การใช้ประโยชน์ และการขยายพันธุ์ของพืชผักพื้นบ้านสกุล Elsholtzia (วงศ์ Lamiaceae) ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
30/09/2018การสำรวจพืชสกุล Elsholtzia ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2559-2560 พบทั้งหมดจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ ลุมปุม (E. griffithii Hook.f.) เลือน (E. kachinensis Prain) หงู่ฉี่ (E. winitiana Craib) หย้าช่วนตัว (E. penduliflora W.W.Sm.) อีหรืน (E. communis (Collectt & Hemsl.) Diels) อีหรืนป่า (E. beddomei C.B.Clarke ex Hook.f.) ฮาน (E. stachyodes (Link) Raizada & Saxena) และ E. blanda (Benth.) Benth. ส่วนใหญ่เป็นพืชปลูกที่พบในพื้นที่เกษตรและใช้ประโยชน์โดยชาวบ้านทั้ง 7 ชาติพันธุ์ ได้แก่ กะเหรี่ยง ละว้า อาข่า ไทใหญ่ ไทลื้อ ม้ง ลีซอ และเมี่ยน (เย้า) พืชกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะสามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้
การศึกษาการเพาะเลี้ยงฮานในสภาพปลอดเชื้อ โดยฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดฮานด้วยคลอรอกซ์ความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20% เป็นเวลา 10 หรือ 15 นาที พบว่า คลอรอกซ์ความเข้มข้น 20 % เป็นเวลา 10 นาที ให้การงอกสูงสุด 100% ย้ายยอดที่ปลอดเชื้อไปเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม BA GA3 และ Kinetin ความเข้มข้น 0, 0.5, 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 1500 ลักซ์ 16 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า อาหาร MS ที่เติม GA3 ความเข้มข้น 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตรสามารถชักนำตาข้างให้เกิดยอดได้ 65.25 ± 2.85% มียอดเฉลี่ยจำนวนมากที่สุด 1.88 ยอดต่อชิ้นเนื้อเยื่อ
พื้นที่เป้าหมาย
ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เพื่อสำรวจข้อมูลการกระจายตัว และการใช้ประโยชน์ของพืชในสกุล Elsholtzia โดยกลุ่ม ชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
- เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์ของพืชในสกุล Elsholtzia โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.อังคณา อินตา คณะวิทยาศาสตร์
สถานะโครงการ
สิ้นสุดโครงการ