กิจกรรม
องค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านมาลาเรีย และ เอนไซม์ ของพืชสกุล Elsholtzia (วงศ์ Lamiaceae) ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
30/09/2018วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อทำการศึกษาองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมี หาปริมาณฟลาโวนอยด์รวมและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสกุล Elsholtzia ได้แก่ E. communis E. stachyodes และ E. griffithii ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบเอทานอลของ E. communis พบว่ามีสารกลุ่ม ฟลาวาโนนอล สเตอรอยด์ น้ำตาลรีดิวซ์ คาร์ดิแอค ไกลโคไซด์ และแทนนินเป็นองค์ประกอบ สารสกัดหยาบ เอทานอลของ E. stachyodes มีสารกลุ่มฟลาวาโนน และฟลาโวนอล สเตอรอยด์ น้ำตาลรีดิวซ์ และแทนนินเป็นองค์ประกอบ ในขณะที่สารสกัดหยาบเอทานอลของ E. griffithii พบว่ามีสารกลุ่ม สเตอรอยด์ คาร์ดิแอคไกลโคไซด์ และแทนนินเป็นองค์ประกอบ ในการหาปริมาณฟลาโวนอยด์รวมทั้งหมด พบว่า E. communis E. stachyodes และ E. griffithii มีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมทั้งหมดเท่ากับ 90.98 ± 2.13, 89.67 ± 1.47 และ 82.76 ± 0.98 มิลลิกรัมสมมูลกับเควอซิทินต่อกรัมของสารสกัด ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ พบว่า E. communis และ E. stachyodes มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงเมื่อเปรียบเทียบกับ E. griffithii เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ วิธี DPPH อย่างไรก็ตามเมื่อนำสารสกัดเอทานอลทั้ง 3 ชนิด มาทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคขอบใบแห้งในข้าวและแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว (Staphylococcus aureus และ Staphylococcus epidermidis) พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ความเข้มข้น 1000 mg/L ในขณะที่เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็ง พบว่าสารสกัดหยาบ E. stachyodes สามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์เชื้อสายมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด K562 (human chronic myelogenous leukemia cell line), U937 (human histiocytic lymphoma cell line) และชนิด RAJI (human Burkitt’s lymphoma cell line) และสามารถเกิดอะพอพโทซิสได้ดีคือร้อยละ 46.10±9.47 เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น
จากผลการศึกษาพบว่า สารสกัดหยาบ E. stachyodes มีฤทธิ์ทางชีวภาพดีที่สุดจึงนำมาแยกหาสารประกอบทางเคมีด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟี พบว่าสามารถแยกสารกลุ่มฟลาโวนได้ 2 ชนิด คือ 5-hydroxy-7-methoxyflavone และ 5-hydroxy-6,7-dimethoxyflavone และสารในกลุ่ม oxygenated monoterpene 1 ชนิด คือ thymol จากนั้นนาสารที่แยกได้มาทาการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า thymol มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และ DPPH โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 51.60 ± 1.01 mg/L และ IC50 > 1000 mg/L ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาหาสภาวะที่เหมาะสมเพื่อแยกและหาปริมาณสารเหล่านี้ โดยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงอีกด้วย
สำหรับผลการทดสอบปริมาณของไคติเนส และเปอร์ออกซิเดส ของสารสกัดหยาบ E. stachyodes, E. communis, E. Beddomei, E. winittii และ E. blanda เพื่อประเมินศักยภาพของการประยุกต์เอนไซม์ในการต้านเชื้อราและลดระดับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่เกิดจากอนุมูลอิสระตามลำดับ พบว่าพืชตัวอย่างทั้ง 5 ชนิดมีแอกทิวิตีของเปอร์ออกซิเดส โดยพบแอกทิวิตีของเปอร์ออกซิเดสต่อน้ำหนัก พืชสด 1 กรัม ในสารสกัดหยาบ E. stachyodes มากที่สุด (803.35±24.1465 มิลลิยูนิต) ตามด้วย E. beddomei (227.73±10.2679 มิลลิยูนิต) E. winittii (207.47±9.0835 มิลลิยูนิต) และ E. blanda (74.78±3.9552 มิลลิยูนิต) และ E. communis (8.52±2.6006 มิลลิยูนิต) ในขณะที่แอกทิวิตีของไคติเนสต่อน้าหนักพืชสด 1 กรัม จะพบในพืชตัวอย่าง 3 ชนิด ได้แก่ E. blanda (62.37±3.1000 มิลลิยูนิต) E. griffithii (36.28±2.4214 มิลลิยูนิต ) และ E. winittii (33.84±8.2656 มิลลิยูนิต)
พื้นที่เป้าหมาย
เขตภาคเหนือของประเทศไทย
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของพืชในสกุล Elsholtzia
- เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านมาลาเรียและมะเร็ง
- เพื่อศึกษาเอนไซม์ที่เป็นประโยชน์
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.พิชญา มังกรอัศวกุล คณะวิทยาศาสตร์
สถานะโครงการ
สิ้นสุดโครงการ