กิจกรรม
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเครื่องสำอางจากผักพื้นบ้าน (ต่อเนื่องปีที่ 2)
30/09/2019ผักปู่ย่า มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia mimosoides Lam. เป็นไม้พุ่มที่สูง มีหนามหนาแน่นในทุกส่วนของพืช ซึ่งพบมากในทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืองของประเทศไทย โดยมีการศึกษาก่อนหน้าพบว่าสารสกัดผักปู่ย่าให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีในระดับกลาง และมีปริมาณสารกลุ่มแทนนินและฟีนอลิกสูง การศึกษานี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดผักปู่ย่าและเพื่อศึกษาความเหมาะสมของตัวทำละลายที่ใช้สกัดที่ทำให้สารสกัดมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุดเพื่อทาการพัฒนาตำรับที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำการสกัดโดยใช้ soxhlet’s apparatus และใช้ตัวทำละลาย 95% เอทานอลเป็นตัวทำละลาย โดยมีการสกัดแยกด้วยตัวทำละลายที่มีความเป็นขั้วที่แตกต่างกัน จากนั้นทำการกำจัดคลอโรฟิลล์ออกจากสารสกัดหยาบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีสีที่จางลง น่าใช้ และนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging, β- carotene bleaching activity assay, lipid peroxidation inhibitory activity, ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay, ABTS radical scavenging activity assay และทำการทดสอบหาปริมาณของสารประกอบฟีนอลิค และปริมาณของสารประกอบฟลาโวนอยด์ นอกจากนี้ยังได้ทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอมไซม์ไทโรซิเนส จากผลจากการวิจัยนี้พบว่าส่วนสกัด aqueous ethanol จากการสกัดแยกให้ปริมาณของสารประกอบฟีนอลิคและฟลาโวนอยด์ในปริมาณที่สูง และยังให้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดี ซึ่งพบว่าฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระมีความสอดคล้องกับปริมาณของสารประกอบฟีนอลิคและฟลาโวนอยด์ แต่ในการทดสอบด้วยวิธี FRAP assay พบว่าส่วนสกัดที่กำจัดคลอโรฟิลล์ให้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีที่สุด ส่วนการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอมไซม์ไทโรซิเนสพบว่าเมื่อทำการสกัดแยกโดยใช้ petroleum ether เป็นตัวทำละลาย พบว่าสามารถยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้สูงที่สุด เมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสในมนุษย์พบว่าไม่มีความเป็นพิษต่อเซล์ ในการพัฒนาตำรับผู้ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมและโลชัน โดยได้เลือกสารสำคัญในการออกฤทธิ์เป็สารกัดจากผักปู่ย่าส่วนสกัด aqueous ethanol ซึ่งใช้ความเข้นข้นของสารสกัด 0.3% หลังจากนั้นได้ทำการทดสอบการระคายเคืองเบื้องต้นในกระต่ายและในมนุษย์ในมนุษย์พบว่าไม่เกิดการระคายเคืองทั้งในกระต่ายและมนุษย์ ผลการประเมินประสิทธิภาพเมื่อทำการวัดความเรียบเนียนของผิวพบว่าผิวของอาสาสมัครมีแนวโน้มที่มีความเรียบเนียนขึ้น และสอดคล้องกับการทดสอบความยืดหยุ่นของผิวที่พบว่ามีความยืดหยุ่นของผิวที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
- เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
- เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดผักพื้นบ้าน โดยเฉพาะพืชในสกุล Elsholtzia
- เพื่อศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์และทดสอบความพึงพอใจในผู้บริโภค
- เพื่อทดสอบความระคายเคืองเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสารสกัดผักพื้นบ้าน
- เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ในอาสาสมัคร (ปีที่ 2-3)
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ภญ.สุนีย์ จันทร์สกาว
สถานะโครงการ
สิ้นสุดโครงการ